โรคตับวาย (Liver
failure)
โรคตับวาย เป็นโรคซึ่งเกิดจากมีเหตุปัจจัยร้ายแรง
ที่มากระทำให้เนื้อเยื่อตับส่วนใหญ่เกิดความเสียหายจนเกินกว่าที่ตับจะซ่อมแซมตนเองได้
จึงทำให้ตับใกล้หมดสมรรถภาพที่จะทำหน้าที่ของตับได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เซลล์ตับบาดเจ็บเสียหาย
มีได้หลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อย คือ
-
โรคตับแข็ง
-
พิษของสุรา
-
ตับติดเชื่อ
เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ
-
จากพิษในอาหาร
เช่น ในเห็ดบางชนิด หรือสมุนไพรบางชนิด
-
จากร่างกายได้รับพิษของโลหะหนัก
จากการปนเปื้อนในน้ำดื่ม หรือในอาหาร เช่น ตะกั่ว และทองแดง
-
จากพิษของยา
ที่พบได้บ่อย คือ กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล (Paracetamol)
เกินขนาด หรือการแพ้ยาแอสไพริน ในเด็กที่มีไข้จากการติดเชื้อไวรัส
เช่น ในโรคหัด
-
ใช้ยาเสพติดเกินขนาด
เช่น โคเคน
-
จากโรคมะเร็งตับ หรือโรคมะเร็งชนิดต่างๆที่แพร่กระจายมาตับ
-
จากโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเองระยะรุนแรง
-
ประมาณ 10-15%
ของผู้ป่วย แพทย์หาสาเหตุไม่ได้
อาการทั่วไปของโรคตับวาย
ลำดับขั้นตอนการเกิดโรคตับวาย
(Hepatic Failure
Consequences) ที่เผยแพร่โดยมหาวิทยาลัยทัฟท์มีสาระโดยสรุป
เรียงลำดับตามอาการดังนี้
1.
เริ่มต้นจากอาการดีซ่าน
(jaundice)
2.
ต่อมาปรากฏกลิ่นอับทางลมหายใจ และปัสสาวะ (musty
ordor of breath and urine)
3.
เริ่มอาการทางสมอง
(encephalopathy) ซึ่งสถาบันแห่งชาติด้านโรคประสาทและโรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง
(Nation Institute of Neurological disorders and Stroke) ของสหรัฐอเมริกา ได้อธิบายความหมายของคำว่า อาการทางสมอง หรือ encephalopathy
ว่า หมายถึง
- ความจำเสื่อมที่ค่อยๆเลวร้ายลงมากขึ้น
- ความระลึกได้หมายรู้ ( cognitive
ability) ก็ค่อยๆเสื่อมทรามลง
- บุคลิกภาพลักษณะส่วนตัวเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
- สภาพจิตเริ่มขาดสมาธิ
- ปรากฏอาการเซื่องซึมมากกว่าปกติ
4.
เรื่มปรากฏอาการของสภาวะไตวาย
(renal failure)
5.
เมื่อเกิดบาดแผล
ระยะเวลาการเกิดลิ่มเลือดเพื่อให้เลือดหยุดไหลเริ่มช้านานมากขึ้น เนื่องจากตับเริ่มผลิตสารสร้างลิ่มเลือด ( coagulation factors) ไม่ได้ในระดับที่เคยทำ
6.
ฝ่ามือ มักมีสีแดงมากกว่าปกติ
(palmar erythema)
7.
บริเวณผิวหนังที่อ่อนและบาง
มักเริ่มปรากฏรอยผื่นแดงคล้ายกับขาแมงมุม (spider
angiomas)
8.
หากเป็นผู้ชาย
จะตอบคำถามตนเองไม่ได้ว่า เหตุใดจึงเริ่มปรากฏอาการเต้านมโตขึ้นผิดปกติ
9.
ลูกอัณฑะ เริ่มฝ่อเล็กลง (testicular
atrophy)
10.
น้ำหนักตัวลดลงผิดสังเกตอย่างไร้เหตุผล
11.
กล้ามเนื้อ (แขน, ขา) ค่อยๆลีบ เล็กลง
12.
มักมีอาการคันจนเกิดผื่น
(pruritis) ขึ้นอย่างง่ายดาย
13.
เนื่องจากน้ำดีที่ตับที่ผ่านไปสู่ลำไส้เล็ก
น้อยลง (ด้วยสาเหตุตับหมดประสิทธิภาพในการผลิต หรือผลิตได้บ้าง แต่ไหลผ่านท่อน้ำดีไม่ได้)
จึงทำให้การย่อยอาหารไม่ได้ผล นำไปสู่ภาวะที่ร่างกายดูดซึมสารอาหารไม่ได้ (malabsorption)
14.
ตับเรื่มสร้างสารโปรตีนสำหรับใช้ในเลือดที่เรียกว่า
อัลบูมิน ได้น้อยลง (hypoalbuminemia)
15.
ทั้งๆ ที่มีการควบคุมอาหาร ก็ยังเกิดภาวะคอเลสเตอรอล มีระดับสูงขึ้นผิดปกติ(hypercholesterolemia) เนื่องจากตับหมดสมรรถภาพในการผลิตน้ำดี โดยใช้วัตถุดิบ คือ คอเลสเตอรอล จึงทำให้เหลือคอเลสเตอรอลคับคั่งอยู่ในกระแสเลือดจนมีระดับสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
16.
เริ่มเกิดสภาวะของโรคโลหิตจาง
(anemia) อันเนื่องมาจากตับผลิตโปรตีนรวมส่งให้เลือด (Total
protein) ได้ลดน้อยลงมาก
ทำให้ไขกระดูกขาดโปรตีนที่จะใช้สร้างฮีโมโกลบิน (hemoglobin)
เพื่อการผลิตเม็ดเลือดแดง
4.การแบ่งประเภทของโรคตับวายและสาเหตุของโรค
ข้อมูลโดยทั่วไป
จะใช้ระยะเวลานับตั้งแต่เริ่มต้นเกิดอาการของโรคตับวายไปจนถึงเวลาวิกฤติ รวมทั้งความร้ายแรงของโรค เป็นเกณฑ์แบ่งประเภทของโรคตับวาย
ทั้งนี้
มักนิยมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท พร้อมด้วยสาเหตุในแต่ละประเภทดังนี้
ก.
โรคตับวายเฉียบพลัน
1.ชื่ออื่น
ก. Acute liver failure (ALF)
ข.Fulminant hepatic failure (FHF)
ค.Sudden hepatic
failure
2.ปัจจัยที่ใช้พิจารณาว่า“เฉียบพลัน”
ก.โดยข้อมูลสำคัญ หากพบว่า
1.ตับปราศจากสมรรถภาพการสร้างลิ่มเลือด (coagulopathy)ย่อมแสดงว่า ตับทำหน้าที่อย่างอื่นไม่ได้แล้วเช่นกัน
2.สภาพจิตและสมองของผู้ป่วยเริ่มเสื่อมถอยลง หรือตกต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด
ข.ผู้ป่วยมีอาการทรุดหนักในระยะเวลา
48 ชั่วโมง นับตั้งแต่เริ่มมีอาการ
3.สาเหตุที่อาจก่อให้เกิดโรคตับวายเฉียบพลัน
ก.
การกินยา Acetaminophen (พาราเซตามอล)
เกินขนาด
ข.
การอักเสบของตับจากการโจมตีของไวรัสสำคัญตัวใดตัวหนึ่งใน 3 ตัว คือ
1. Hepatitis A virus
2.Hepatitis B virus
3.Hepatitis C virus
2.Hepatitis B virus
3.Hepatitis C virus
ค. ปฏิกิริยาจากการกินยารักษาโรคอื่น
แม้แต่ยาตามใบสั่งยาโดยแพทย์ที่ท่านสั่งรักษาโรคอื่นอย่างถูกต้อง หรือการกินสมุนไพรรักษาโรคอื่นโดยปฏิกิริยานั้น
ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดสภาวะของโรคตับวายเฉียบพลันขึ้นได้
ง.
อาจกินอาหารบางอย่างที่เป็นพิษ เช่น เห็ดมีพิษ ปลาปักเป้า ผักหวานป่าบางพันธุ์
หรือสารพิษ ยาฆ่าแมลง สารเคมี ฯลฯ
ข.โรคตับวายเรื้อรัง
1.ชื่ออื่น
ก.Choronic liver failure
ข. Choronic hepatic failure
2.ปัจจัยที่อาจใช้ช่วยพิจารณาว่าเป็นโรคตับวายเรื้อรังหรือไม่
คือ
ระยะเวลาภายหลังที่ทราบว่าตับได้เกิดโรคใดโรคหนึ่งขึ้นก่อนแล้ว
ต่อมาภายในระยะเวลาประมาณ 8 – 26
สัปดาห์นับแต่นั้นได้ปรากฏ อาการของโรคทางสมองเนื่องมาจากตับ (hepatic
encephalopathy) เพิ่มเติมขึ้นมาชัดเจนขึ้น ในการนี้จะถือว่า
ผู้ป่วยได้ตกอยู่ในสภาวะ “Subfulminant hepatic failure” (สภาวะใกล้ตับวายเฉียบพลัน)
ซึ่งเทียบเท่ากับchronic hepatic failure
3.สาเหตุที่อาจก่อให้เกิดโรคตับวายเรื้อรัง
ก.จากการโจมตีของไวรัสตับอักเสบ
B (Hepatitis B virus)
ข.จากการโจมตีของไวรัสตับอักเสบ C (Hepatitis C
virus)
ค.จากการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักต่อเนื่องตลอดมาช้านาน
ง.จากโรคตับแข็ง
จ.จากโรคชนิดหนึ่งที่ร่างกายเก็บสะสมธาตุเหล็ก
ไว้มากเกินความจำเป็น ในทาง
การแพทย์ท่านจะเรียกชื่อโรคนี้ว่า “เฮโมโครมาโตซิส”
ฉ.จากสภาวะทุโภชนาการ
(Malnutrition) หรือการกินอาหารน้อยมากผิดปกติ
หรือกินอาหารไม่ครบหมู่
ไวรัสตับอักเสบ
B และ Cนั้น
นับเป็นสาเหตุสำคัญที่อาจก่อให้เกิดโรคตับวาย ได้ทั้งประเภท ตับวายเฉียบพลัน
และตับวายเรื้อรัง
แต่ไวรัสตับอักเสบ
A (Hepatitis A virus) นั้นแตกต่างออกไปจากชนิด B และ C เนื่องจากมันอาจก่อให้เกิดโรคตับวายประเภทเฉียบพลันได้เพียงประเภทเดียวเท่านั้น
4.การตรวจวินิจฉัยและการเยียวยารักษา
ข้อนี้เป็นหน้าที่และบทบาทของแพทย์โดยตรง
1. การตรวจทางกายภาพต่อตัวผู้ป่วย
เพื่อตรวจดูอาการดีซ่าน ท้องมาน ตับโต ซักถามอาการคลื่นไส้ อาการทางสมอง ความจำ
ฯลฯ
2. อาจสั่งให้มีการตรวจเลือดเพื่อทราบสภาวะการทำงานของตับ
3. อาจมีการใช้เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยอื่น
เพื่อตรวจดูสภาพที่แท้จริงของตับ
4.อาจมีการสั่งให้ยาและใช้เครื่องมือแพทย์บางอย่างเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย
เช่น อาจเจาะเอาของเหลวออกจากช่องท้อง ที่กำลังเกิดสภาวะท้องมานอยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น