MICROCONTROLLER

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โรคไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)

โรคไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)



ตับอักเสบ หมายถึงโรคที่เกิดจากเซลล์ตับเกิดการอักเสบ บาดเจ็บ หรือถูกทำลายจนส่งผลถึงการทำงานของตับซึ่งเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ โดยแบ่งสาเหตุเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม คือ ตับอักเสบจากติดเชื้อโรค และตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรคตับอักเสบจากติดเชื้อโรค (Infectious hepatitis) ซึ่งเกือบทั้งหมดจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่เรียกว่า โรคไวรัสตับอักเสบ(Infectious viral hepatitis หรือ Viral hepatitis) อย่างไรก็ตา ตับสามารถติดเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้ง แบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อปรสิต ซึ่งเมื่อเกิดจากการติดเชื้อที่ไม่ใช่เชื้อไวรัส มักก่อให้เกิดเป็นฝีในตับ ซึ่งเราเรียกว่า โรคฝีตับ (Liver abs cess) ตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ มีสาเหตุจากสารเคมีต่างๆที่ร่างกายได้รับ ที่พบบ่อย คือ จากยาต่างๆที่เราใช้รักษาโรคจากพิษของแอลกอฮอล์ จากสมุนไพร และจากสารเคมีที่เป็นพิษต่างๆ เช่น สารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำดื่ม น้ำใช้ ซึ่งเราเรียกโรคตับอักเสบที่เกิดจากสารเคมีต่างๆเหล่านี้ว่า โรคพิษต่อตับ (Hepatotoxicity หรือ Toxic hepatitis)”

สาเหตุของโรคตับอักเสบ
สาเหตุที่พบได้บ่อย คือ จากยารักษาโรค และจากพิษของแอลกอฮอล์ นอกนั้นที่อาจพบได้แต่น้อยกว่า 2 สาเหตุแรกมาก คือ จากสมุนไพรบางชนิด และจากสารเคมีที่พิษ เช่น สารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำดื่ม น้ำใช้ยารักษาโรคเกือบทุกชนิดถ้าใช้ในขนาด/ปริมาณ (Dose) ที่สูงอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสก่อ ให้เกิดพิษต่อตับเสมอ เช่น ยาแก้ปวด/ยาลดไข้พาราเซตามอล (Paracetamol) ยาฮอร์โมน ยารักษาวัณโรค หรือ วิตามิน เอ เป็นต้นนอกจากนี้ บางครั้งในคนบางคน จะมีความไวต่อยาบางชนิดเป็นพิเศษทั้งนี้โดยไม่ขึ้น กับ ขนาดของยาไม่มีปัจจัยเสี่ยงและไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดกับใครและกับยาตัวใด (เชื่อว่า อาจจากพันธุกรรมของคนๆนนั้นเอง) เรียกว่าเกิดภาวะไวผิดเพี้ยนต่อยา (Idiosyncra tic drug reaction) ดังนั้น การใช้ยาต่างๆ จึงต้องใช้เฉพาะต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้ ในขนาดยาและตามระยะเวลาที่ถูกต้องไม่ใช้ยาพร่ำเพรื่อดังนั้น การใช้ยาทุกชนิดโดยเฉพาะยาตัวใหม่ที่ไม่เคยใช้มาก่อน ควรต้องเป็นการแนะนำจาก แพทย์ เภสัชกร หรือพยาบาล เสมอ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับอักเสบ/โรคพิษต่อตับที่เกิดจากยา
-         อายุ พบโรคเกิดได้น้อยในเด็ก แต่พบได้สูงมากขึ้นในผู้สูงอายุ ยกเว้นยาแอสไพ ริน ที่มักก่อพิษต่อตับของเด็กเมื่อกินลดไข้ที่เกิดจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะจากเชื้อไวรัส
-         เพศ  พบโรคได้บ่อยในผู้หญิงเมื่อเทียบกับในผู้ชาย
-         เชื้อชาติ และพันธุกรรม คนบางเชื้อชาติไวต่อยาบางชนิดมากกว่าคนในบางเชื้อชาติ
-         คนที่มีโรคต่างๆของตับ เช่น โรคตับแข็ง โรคไวรัสตับอักเสบ
-         คนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
-         ชนิดของยา ยาที่ออกฤทธิ์ และอยู่ในร่างกายได้นาน มีโอกาสก่อพิษต่อตับได้สูงกว่ายาที่ออกฤทธิ์สั้น

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับอักเสบ/โรคพิษต่อตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์
-         ปริมาณของแอลกอฮอล์ยิ่งดื่มปริมาณสูงโอกาสก่อพิษต่อตับยิ่งสูง
-         ความต่อเนื่องของการดื่มแอลกอฮอล์ยิ่งดื่มต่อเนื่องโอกาสเป็นพิษต่อตับยิ่งสูงขึ้น
-         ชนิดประเภทของแอลกอฮอล์ยิ่งมีความเข้มข้นสูงการก่อพิษต่อตับยิ่งสูง
-         ดื่มแอลกอฮอล์ในขณะท้องว่างโอกาสเป็นพิษต่อตับสูงกว่าเมื่อดื่มร่วมกับอาหารทั้งนี้อาจเพราะช่วงท้องว่างร่างกายจะดูดซึมแอลกอฮอล์ได้ดี
-         เพศ ผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์มีโอกาสเกิดความเป็นพิษต่อตับสูงกว่าผู้ชายประมาณ 2 เท่า
-         ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ
-         คนที่เป็นโรคขาดสารอาหารโปรตีน (เช่น ขาดเนื้อสัตว์ นม ไข่)
-         พันธุกรรมบางพันธุกรรมที่ส่งผลให้ตับไวต่อการถูกทำลายด้วยแอลกอฮอล์สูงกว่าคนทั่วไป





อาการของโรคตับอักเสบ
-         อ่อนเพลียเกินเหตุ
-         ปวดเมื่อย เนื้อตัว กล้ามเนื้อ และ/หรือข้อต่างๆอาจปวดศีรษะแต่ไม่มาก
-         อาจมีไข้ต่ำๆอาจมีผื่นขึ้นอาจเป็นผื่นคันหรือไม่ก็ได้
-         เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องแต่ไม่มาก มักปวดในตำแหน่งของตับ คือ ใต้ชายโครงขวา อาจมีท้องเสียแต่ไม่มาก
-         เมื่ออาการต่างๆดังกล่าวค่อยๆดีขึ้น จะตามมาด้วย ตัว ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข็ม อุจจาระอาจมีสีซีด (โรคดีซ่าน) ทั้งนี้เกิดจากตับอักเสบจึงขับน้ำดีออกจากตับไม่ได้เกิดการคั่งของน้ำดีในตับและสารสีเหลือง (สารบิลิรูบิน/Bilirubin) ในน้ำดีท้นเข้าสู่กระแสโลหิต ซึ่งอาการ ดีซ่าน อาจอยู่ได้นานเป็นเดือน

-         ไม่มีอาการแพทย์ตรวจพบจากการตรวจเลือดดูการทำงานของตับในการติดตามผลการรักษาโรคในระยะเฉียบพลัน
-         มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าได้ง่าย ง่วงซึมกว่าปกติ
-         เจ็บใต้ชายโครงขวา/เจ็บตับ เป็นๆหายๆ
-         ในระยะท้ายๆของโรคที่ตับเสียการทำงานมากแล้ว ผู้ป่วยอาจกลับมามีตัว ตาเหลืองอีก แต่อาการน้อยกว่าที่เกิดในระยะเฉียบพลัน

แนวทางการรักษาโรคตับอักเสบ
-         หยุดกิน/ดื่มสิ่งที่เป็นสาเหตุ
-         พักผ่อนให้มากๆเพื่อลดการทำงานของตับเซลล์ตับจะได้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
-         ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณมากกว่าปกติอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว (เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม )
-         กินอาหารอ่อน (ประเภทอาหารทางการแพทย์) กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบทุกวันหลีกเลี่ยงอาหารไขมันเพราะจะทำให้คลื่นไส้มากขึ้น
-         ระมัดระวังการใช้ยาต่างๆควรใช้ยาเฉพาะแต่ที่แพทย์แนะนำเท่านั้นในรายที่เกิดพิษต่อตับรุนแรงจนถึงขั้นตับวายการรักษาที่อาจช่วยชีวิตได้คือ การปลูกถ่ายตับ



ความรุนแรงของโรคตับอักเสบและโอกาสรักษาได้หาย
ปัจจัยที่สำคัญ คือ อายุ (เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ อาการรุนแรงกว่า) เพศ (เพศหญิง อาการมักรุน แรงกว่าเพศชาย) สุขภาพเดิมของผู้ป่วย (อาการรุนแรงกว่า ถ้ามีโรคประจำตัวเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับตับ) ชนิดของยาที่กิน ปริมาณ/ขนาดยาที่กิน และการดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรัง ทั้งนี้ ในรายอาการรุนแรง อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้จากภาวะตับวาย

การดูแลตนเอง เมื่อพบว่าเป็นโรคตับอักเสบ
-         หยุด/เลิก กิน/ดื่ม สิ่งที่เป็นสาเหตุ
-         พักผ่อนให้เต็มที่
-         ดื่มน้ำสะอาดให้ได้มากๆอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
-         เลิกดื่มแอลกอฮอล์
-         กินอาหารอ่อน (ประเภทอาหารทางการแพทย์) หลีกเลี่ยงอาหารไขมัน
-         จำกัดการออกกำลังกาย ออกกำลังกายเบาๆเพื่อช่วยลดการทำงานของตับ
-         ไม่ซื้อยากินเองใช้ยาเฉพาะที่แพทย์แนะนำ
-         พบแพทย์ตามนัดเสมอ
-         รีบพบแพทย์ก่อนนัด เมื่อมีอาการต่างๆเลวลง เช่น คลื่นไส้อาเจียน หรืออ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หรือเจ็บใต้ชายโครงขวา มากขึ้น

การป้องกันโรคตับอักเสบ
การตระหนักว่าสารเคมีทุกชนิดรวมทั้งในรูปของยา สมุนไพร ยาพื้นบ้านฮอร์โมนแอลกอฮอล์และอื่นๆ ล้วนมีพิษต่อตับจึงต้องระมัดระวัง รู้จักหลีกเลี่ยงและรู้วิธีใช้เมื่อจำเป็นต้องใช้นอกจากนั้น คือ
-         ไม่ใช้ยาโดยไม่จำเป็นพร่ำเพรื่อการซื้อยาใช้เองควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ
-         จำให้ได้ว่าเคยแพ้ยาอะไรมีอาการอย่างไรจากการแพ้ยาเพื่อแจ้งแพทย์ พยาบาล
 เภสัชกร ก่อนซื้อยาทุกครั้ง
-         เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น