MICROCONTROLLER

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus : HBV)

ไวรัสตับอักเสบชนิดบี
(Hepatitis B virus : HBV) 
ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus/HBV)  เป็นสาเหตุที่สำคัญทที่สุดของตับอักเสบเรื้องรังทั่วโลก คาดว่ามีประชากรมากกว่า 350 ล้านคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบจากไวรัสชนิดบีในเมืองไทยจำนวนมาก โดยที่ผู้ป่วยเหล่านี้อาจไม่แสดงอาการใดๆ ผู้ป่วยเหล่านี้ บางคนอาจจะยังไม่เคยทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็นโรคนี้ จนกระทั่งไปตรวจเลือด จึงพบว่าเป็นโรคนี้ก็มี หรือบางคนไปบริจาคโลหิต แล้วจึงทราบว่าเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จำนวนหนึ่งจะกลายเป็นโรคร้ายแรง ผู้ที่ติดเชื้อเรื้อรังจะเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากสาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี และยังมีโอกาศที่จะเป็นโรคตับแข็ง และเกิดมะเร็งได้อีกด้วย


การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

          เกิดจากเชื้อไวรัส Hepatitis B Virus (HBV)  ซึ่งเป็น DNA ไวรัส  จัดอยู่ในกลุ่ม Hepadnavirus  มีส่วนของไวรัสที่สำคัญ ซึ่งเป็น antigen ที่มี markers ที่สำคัญของโรค คือ Hepatitis B surface antigen (HBsAg),  Hepatitis B core antigen (HBcAg)  และ  Hepatitis e antigen (HBeAg) ซึ่งจะมีอยู่ในเลือดและน้ำคัดหลั่ง (secretion) ต่าง ๆ ของร่างกาย สามารถติดต่อผ่านทางเลือด น้ำเหลือง และสารคัดหลั่ง  เมื่อได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเข้าไป  เชื้อไวรัสจะเข้าไปที่เซลล์ตับ โดยเจริญในเซลล์ตับและก่อให้เกิดโรคในที่สุด การติดต่อของโรคนี้ติดต่อกันได้ ที่สำคัญมี 4 ทาง คือ

1.            ทางเลือด  
-                   โดยได้รับเชื้อจากการได้รับเลือดจากผู้ที่เป็นโรคนี้  ปัจจุบันเราพบการติดต่อทางนี้น้อยลง เพราะเรามีการตรวจเลือดก่อนที่จะนำมาให้คนไข้ 
-                   การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การสักตามตัว การเจาะหู
2.            ทางน้ำลาย
-                   การรับประทานอาหารร่วมกับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี
-                   การใช้แปรงสีฟันร่วมกัน
3.            ทางเพศสัมพันธ์
-                   มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่สวมถุงยาง

4.            จากมารดาสู่บุตร
-                   มีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อได้ในระหว่างคลอด จึงควรมีการตรวจเลือดมารดาในตอนที่ฝากครรภ์

                 ไวรัสตับอักเสบบีเป็นไวรัสที่ทนทานต่อสิ่งแวดล้อมปกติ  ไม่ตายด้วยการแช่แข็ง  ทนต่ออุณหภูมิปกติได้เป็นชั่วโมง  อยู่ในอุณหภูมิ 25◦C ได้เป็นสัปดาห์  แต่ถูกทำลายได้ด้วยการต้มเดือดนานอย่างน้อย 20 นาทีการอบแห้งในอุณหภูมิสูงเป็นเวลาหลายๆชั่วโมง  และการแช่ในสารคลอร็อกซ์ (Clorox) อย่างน้อย 30 นาที
ถึง 1 ชั่วโมง

อาการของโรคไวัสตับอักเสบบี
                      
โรคไวรัสตับอักเสบบีพบได้สูงทั้งในลักษณะเฉียบพลันและเรื้อรัง  โดยมีระยะฟักตัวประมาณ
30          – 180 วัน แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 60 – 90 วัน

1.            ระยะเฉียบพลันผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือน หลังติดเชื้อ ดังนี้
อาการไข้ ตัวเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา
คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะ
   ทำให้เกิดภาวะตับวายได้

                       อาการตับอักเสบบีระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์  และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถ กำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้  ซึ่งมักจะใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน  และผู้ป่วยส่วนน้อย หรือ ประมาณ5 – 10%  ของผู้ที่ติดเชื้อนี้    ไม่สามารถกำจัดเชื้ออกจากร่างกายได้หมด   ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง

  2.            ระยะเรื้อรัง  ระยะเรื้อรังสามารแบ่งผู้ป่วยได้ 2 กลุ่ม คือ
                                2.1 พาหะ คือ  ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย  ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้   ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ     ดังนั้นก่อนแต่งงาน หรือ มีเพศสัมพันธ์ควรตรวจหาไวรัสตับอักเสบบีก่อน
                                2.2 ตับอักเสบเรื้อรังคือ  ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย  และตรวจเลือดพบค่าทำงานของตับผิดปกติ    ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการ  บางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือ เบื่ออาหารได้  การติดเชื้อแบบเรื้อรังพบบ่อยในเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด
                        

 

                                                             รูป: ลักษณะของไวรัส B

ปัจจัยส่งเสริมที่อาจทำให้เกิดโรครุนแรง
1.             ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี ในปริมาณมากๆ
2.             สภาพร่างกายของผู้ป่วย  ถ้าอ่อนแออาการจะมากขึ้น
3.             มีการกลายพันธ์ของไวรัสตับอักเสบบี  ทำให้ดื้อต่อการรักษา  ตลอดจนทำให้วัคซีน
ไม่สามารถป้องกันโรคได้อีก
4.             การติดต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ร่วมอยู่ด้วย
5.             เป็นโรคเอดส์


แนวทางการรักษา
การรักษาทำได้เพียงประคับประคองตามอาการ  ที่สำคัญคือ การพักผ่อนอย่างเพียงพอร่วมกับการกินอาหารและดื่มน้ำอย่างเพียงพอ   การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังกับแบบเฉียบพลันมีวิธีที่เหมือนกัน
แต่ชนิดแบบเรื้อรังนั้น  ยังมีวิธีรักษาด้วยยาต้านไวรัส  ซึ่งมีทั้งชนิดฉีดและรับประทาน  ซึ่งขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ที่จะเลือกใช้การรักษาแบบไหน              


การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบบี
1.             เจาะเลือดตรวจค่าการทำงานของตับ
2.             เจาะเลือดตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบี ที่สำคัญ  ได้แก่
-                   การตรวจ AntiHBsเป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นตอบสนองต่อการได้รับวัคซีน  หรือแสดงว่าร่างกายได้สร้างภิมคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบีขึ้น
-                   การตรวจ AntiHBcเป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นตอบสนองแสดงว่าร่างกายเคยติดเชื้อ
และ ได้สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบีขึ้น โดยภูมิต้านทานชนิดนี้จะคงอยู่ตลอดชีวิต
3.           การวินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง  ต้องเจาะเลือดตรวจซ้ำอีกครั้ง  ที่ เดือน หลังจากวินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน
4.           การตัดชิ้นส่วนจากตับไปตรวจ  โดยการตรวจนี้ไม่สามารถทำได้ทุกราย ซึ่งทำได้เฉพาะผู้ที่เป็นตับอักเสบแบบเรื้อรัง

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
1.        ฉีดวัคซีนป้องกันโดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนที่สุด คือ เด็กแรกเกิดสำหรับเด็กและผู้ใหญ่  โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน   เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานแล้ว  หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด  และสำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน
2.       ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ   ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน   ซึ่งต้องรับการฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม ร่างกายถึงจะเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา


การป้องกันการติดโรคไวรัสตับอักเสบบี
เนื่องจากโรคไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรที่มีความร้ายแรง การใส่ใจป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ จึงมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งมีข้อปฏิบัติง่ายๆดังต่อไปนี้
1.             กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
2.             ไม่สัมผัสเลือด หรือ สารคัดหลั่ง
3.             ไม่สัมผัสบาดแผลของตนเอง  หรือของผู้อื่นด้วยมือเปล่า
4.             ไม่มีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยง
5.             ตรวจสอบสถานะการติดเชื้อของคู่สมรส  คู่นอน
6.             ฝากครรภ์กับแพทย์เมื่อตั้งครรภ์
7.             รับการตรวจสุขภาพประจำปี
(ข้อมูลจาก : หนังสือโรคตับอักเสบ โรคร้ายที่ต้องรู้จัก ,.นพ.วิโรจน์ ไววานิชกิจหน้าที่ 67 หน้าย่อที่ 2)
การปฏิบัติตัวเมื่อติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
                        หากมีการตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน  ควรขอคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับการดูตัวเอง  และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด  โดยวิธีการปฏิบัติตัวหากมีเชื้ออยู่ในร่างกาย
1.             หากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน ไม่ต้องกังวล เพราะส่วนใหญ่จหายได้เองและเกิดภูมิคุ้มกันตามขึ้นมา
2.             รับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
3.             ไม่ใช้ยารักษาโดยไม่ปรึกษาพทย์
4.             รับการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะให้ทราบว่าตับมีการอักเสบมากน้อยเพียงใด
5.             บอกให้คนใกล้ชิดทราบ  เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
6.             มีเพศสัมพันธ์โดยการสวมถุงยางอนามัย
7.             งดการบิรจาคเลือด
8.             ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
9.             พักผ่อนให้เพียงพอทั้งร่างกายและจิตใจ
10.      ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
11.      ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เนื้อสัตว์รมควัน ถั่วลิสงหรืออาหารที่สามารถเก็บไว้ได้นานๆ  อาหารจำพวกของมักดอง  เช่น ปลาเค็ม  เนื้อเค็ม แหนม ปลาร้า ผักดอง ไส้กรอก เบคอน
อาหารกระป๋อง เนื่องจากอาหารพวกนี้ส่งเสริมให้ตับทำหน้าที่บกพร่อง
12.      หญิงมีครรภ์และคลอดบุตร  ควรฉีดวัคซีนให้บุตรภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากคลอด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น