MICROCONTROLLER

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

มะเร็งตับ (Liver cancer)

มะเร็งตับ (Liver cancer)
       มะเร็งเป็นโรคที่คนทั่วโลกเป็นกันมาก  และยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 หรือ 2 ของโลก สำหรับในประเทศไทยถือเป็นอันดับ 1 ซึ่งสาเหตุของการเกิดมะเร็งนั้นก็เป็นผลมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมด้านการกิน อาหารที่ใช้บริโภคในปัจจุบันนั้นเป็นอาหารที่มีคุณภาพต่ำผ่านกรรมวิธีต่างๆ ทำให้เกิดการปนเปื้อนสารเคมี และยังขาดสารอาหารที่สำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สำหรับพฤติกรรมด้านการใช้ชีวิตประจำวัน มนุษย์ดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ความเครียด เป็นต้น  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็ง การเกิดมะเร็งยังมีสาเหตุมาจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น ควัน ฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม ไอเสียรถยนต์ การเผาขยะ เผาป่า และสารเคมีจาก ยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืชศัตรูพืชต่างๆ ที่ปนเปื้อนใน น้ำ อากาศ และดิน

      เราคงทราบแล้วว่ามะเร็งในปัจจุบันถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของเกือบทั่วทุกภูมิภาคทั่วโลก และเป็นโรคที่มีความร้ายแรงมาก ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จำนวนมากต้องทุกข์ทรมานและเสียชีวิตลงในเวลา       ไม่นานนัก มะเร็งนั้นมีอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และอื่นๆ แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึง มะเร็งตับ ซึ่งเป็นมะเร็งที่คนไทยเป็นกันไม่น้อย  โดยเฉพาะในชายไทย พบมะเร็งชนิดนี้มากเป็นอันดับที่ 1 ส่วนในหญิงพบมากเป็นอันดับที่ 3 ของมะเร็งชนิดอื่นๆ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับจะมีอายุอยู่ในช่วง 20-25 ปี และมีการตายมากเป็นอันดับที่ 3 เมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นๆ

(รูปที่ 1 ลักษณะเซลล์มะเร็งในตับ ภาพจาก www.cancerexpert.in.th)
      มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ของตับเอง ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ตั้งอยู่บริเวณช่องท้อง ใต้ชายโครงข้างขวา มีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม ตับทำหน้าที่สำคัญหลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการกรองสารพิษออกจากโลหิต เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนไปมา และผลิตฮอร์โมนและเอนไซม์ต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อชีวิต หากตับอยู่ในสภาวะอักเสบเรื้อรัง หรือภาวะตับแข็ง หน้าที่หน้าที่การทำงานของตับจะลดลงเรื่อยๆ ถ้าผู้ป่วยเกิดการสูญเสียเนื้อตับบางส่วน ตับที่เหลืออยู่ที่มีสภาวะตับอักเสบเรื้อรังหรือตับแข็งอยู่แล้ว ก็ไม่อาจจะสามารถทำหน้าที่ตามความต้องการของร่างกายได้ และเกิดภาวะตับวายในที่สุด

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็ง
       โดยปกติแล้วการเจริญเติบโต และการแบ่งตัวของเซลล์ จะถูกควบคุมไปตามกลไกของร่างกาย เซลล์ที่ร่างกายต้องการให้เพิ่มจำนวนเท่านั้นจึงจะเกิดการแบ่งตัว และเซลล์ที่มีอายุมาก หรือเซลล์ที่ร่างกายไม่ต้องการจะเกิดการตายที่เรียกว่า Apoptosis ถ้าระบบการควบคุมภายในเซลล์เกิดความผิดปกติขึ้น เซลล์จะเกิดการแบ่งตัวออกมามากผิดปกติ และจะไม่เกิดการตายแบบ Apoptosis เมื่อเซลล์เกิดการแบ่งตัวขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเกิดเป็นเนื้องอกขึ้น ซึ้งเนื้องอกก็คือจุดเริ่มต้นของการเกิดมะเร็งต่อไป เนื้องอกมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ
        เนื้องอกชนิดธรรมดา(Benign tumor) เกิดจากการที่เซลล์เกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติ แต่เซลล์เหล่านี้จะไม่สามารถกระจายไม่สู่เนื้อเยื่อรอบข้างได้ หรือตามกระแสเลือดได้ เมื่อแพทย์ทำการผ่าตัดออกก็จะไม่สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก
        เนื้องอกมะเร็ง(Malignant tumor) เกิดจากการที่เซลล์เกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติ เนื้องอกชนิดนี้สามารถที่จะกระจ่ายแพร่ไปสู่กระแสเลือดและเนื้อเยื่อรอบข้างได้ โดยการกระจ่ายออกไปสู่อวัยวะอื่นๆ เรียกว่า Metastasis

อาการของมะเร็งตับ
      เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเนื้องอกเริ่มเกิดขึ้นก็ยากที่จะตรวจพบ อาการของมะเร็งที่แสดงออกในระยะแรกไม่ได้เป็นไปในรูปแบบตายตัวเสมอ จึงทำให้ถูกละเลยอาการเหล่านี้ โดยสามารถพิจารณาอาการได้ดังนี้
-ความอยากอาหารลดลงอย่างเห็นได้ชัด รู้สึกแน่นท้อง ท้องอืด การย่อยอาหารไม่ดี บางครั้งปรากฎอาการคลื่นไส้ อาเจียน
-ปวดท้องด้านขวาบนบริเวณตับ มีอาการปวดอย่างต่อเนื่องหรือเป็นบางครั้งบางคราว บางครั้งถ้าเนื้องอกมีการลุกลามอาการเจ็บจะรุนแรงขึ้น
-มีอาการเลือดไหลทางจมูก เลือดออกทางผิวหนัง
-อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ผอมลง ไข้และบวมน้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ
-ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องบวม คันตามผิวหนัง
      ฉะนั้นเราไม่ควรที่จะละเลยอาการเหล่านี้ได้เลย ควรที่จะรู้จังสังเกตอาการของเราอยู่เสมอ ก่อนที่เซลล์มะเร็งจะพัฒนาตัวจนถึงระยะกลางและระยะสุดท้าย และสายเกินไปสำหรับการรักษา


(รูปที่ 2 ตับ ภาพจาก www.oknation.net)

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ
      ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งตับมีดังนี้
      ภาวะตับอักเสบเรื้อรัง การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและชี เชื้อไวรัสนี้สามารถติดต่อสู่เด็กในครรภ์ และสามารถติดต่อได้จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน จากข้อมูลสถิติของหลายสถาบันมีผลใกล้เคียงกันว่า 80% ของผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีจะมีอัตราเสี่ยงเป็นมะเร็งตับมากกว่าคนปกติถึง 223 เท่า



(รูปที่ 3 ภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ภาพจาก www.riskcomddc.com)


(รูปที่ 4 ลักษณะเชื้อไวรัสตับอักเสบ ภาพจาก healthfood.muslimthaipost.com)

       ภาวะตับแข็ง ภาวะตับแข็งมีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยผู้ที่เป็นตับแข็งประมาณ 90% จะมีอัตราเสี่ยงเป็นมะเร็งตับได้สูงมาก และถ้ามีพาหะไวรัสตับอักเสบบีร่วมด้วย ก็จะส่งผลให้มีอัตราเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นอีกเป็นเท่าตัว


(รูปที่ 5 ภาวะตับแข็ง ภาพจาก www.postjung.com)
     การรับสาร Aflatoxinจากเชื้อราAflatoxinเป็นสารที่ปนเปื้อนอยู่ในถั่วชนิดต่างๆ ข้าวโพด กระเทียม ฯลฯ ซึ่งสารชนิดนี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้


(รูปที่ 6 สาร Aflatoxin ภาพจาก www.myfirstbrain.com)

ชนิดของมะเร็งตับ
      มะเร็งตับสามารถแบ่งออกกว้างๆ ได้เป็น 2 ชนิดดังนี้
มะเร็งตับปฐมภูมิ(Primary Liver cancer) แบ่งออกเป็น
      1.มะเร็งของเซลล์ตับหรือเซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีในตับ
      -มะเร็งของเซลล์ตับ (Hepatocellular carcinoma) เป็นมะเร็งตับชนิดที่พบมากที่สุดในโลก
      -มะเร็งท่อน้ำดีในตับ (Intrahepatic cholangiocarcinoma) พบบ่อยในภาคอีสาน และภาคเหนือของประเทศไทย
-มะเร็งที่มีลักษณะผสมระหว่าง Hepatocellular carcinoma และ Cholangiocarcinoma
      -มะเร็งของเยื่อบุที่พบได้น้อย ได้แก่ Hepatoblastomaและ Undifferentiated carcinoma
      2.มะเร็งที่ไม่ได้เกิดจากเซลล์ตับหรือเยื่อบุท่อน้ำดี ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบได้น้อย ได้แก่ มะเร็งหลอดเลือด (Angiosarcoma),Embryonal sarcoma และ Rhabdomyosarcomaเป็นต้น
มะเร็งที่แพร่จากอวัยวะอื่นมาที่ตับ(Secondary Liver cancer) เช่น แพร่กระจ่ายจากลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร เต้านม ปอด และจากระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี เป็นต้น


(รูปที่ 7 ลักษณะของเซลล์มะเร็งในตับ ภาพจาก www.4life-today.com)

กลไกการเกิดมะเร็งตับ
กลไกการเกิดมะเร็งตับนั้นก็มีกลไกการเกิดเช่นเดียวกันกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ทั่วไป การเกิดมะเร็งมีกระบวนการหลายขั้นตอน มีกลไกที่สลับซับซ้อน ที่ทำให้เซลล์ปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็ง และเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตจากเซลล์มะเร็งเพียงเซลล์เดียว กลายเป็นก้อนเนื้อขึ้นมา ต่อมา จะมีการลุกลามเฉพาะที่และเกิดการแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ ในที่สุด โดยกลไกการเกิดมะเร็งนั้นมีกระบวนการเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ระยะเริ่มแรก เป็นระยะที่กระตุ้นให้เกิด (Initiation) เมื่อร่างกายได้รับสารก่อมะเร็ง ซึ่งได้แก่ มลพิษ อาหารที่เป็นโทษ เชื้อโรคบางชนิด รังสี ความเครียด การใช้แรงงานกายไม่เหมาะสม ฯลฯ และเมื่อกลไกลเหล่านี้ข้าสู่ร่างกายและเข้าไปสู่เซลล์แล้ว เมื่อถึงสถานะที่เอื้อต่อการเกิดมะเร็ง สารก่อมะเร็งเหล่านี้ก็จะไปทำหน้าที่เปลี่ยนเซลล์ปกติให้เป็นเซลล์ที่มีแนวโน้มจะเป็นเซลล์มะเร็งต่อไป สารก่อมะเร็งส่วนใหญ่มักทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ เกิดผลผลิตที่มีปฏิกิริยาสูง ไปยึดติดแน่นกับดีเอ็นเอ เกิดเป็นสารประกอบร่วมของสารก่อมะเร็งกับดีเอ็นเอ ซึ่งในระยะนี้ร่างกายสามารถที่จะซ่อมแซมความเสียหายได้  แต่ถ้าร่างกายยังได้รับสารก่อมะเร็งเข้าไปอีก เมื่อเซลล์เกิดการบ่งตัวใหม่ ความเสียหายทางพันธุกรรมก็จะถูกส่งต่อไปยังเซลล์ใหม่ต่อไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยีนและทำให้ดีเอ็นเอเสียหาย ในระยะแรกนี้เกือบทั้งหมด สามารถที่จะพื้นคืนสภาพปกติได้ หากเราดูแลสุขภาพร่างกายของเราให้ดีไม่รับสารก่อมะเร็งเข้าสู่ร่างกายอีก
ระยะที่ 2 เป็นระยะการส่งเสริม (Promotion) เป็นระยะเวลาที่ใช้เวลามากกว่าระยะแรก คือเป็นปีๆ ระยะนี้เป็นระยะที่สามารถพื้นคืนสู่สภาพปกติได้ หากได้รับสารอาหารที่ต่อต้านการส่งเสริมการเกิดมะเร็ง ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ก็จะสามารถไปลดกลไกกระบวนการเกิดมะเร็งให้ช้าลงหรือหยุดได้ และในทำนองเดียวกันหากได้รับอาหารส่งเสริมเซลล์มะเร็ง มะเร็งก็จะสามารถเจริญเติบโตและดำเนินต่อไปได้ ฉะนั้นใน ระยะนี้เราควรปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไปส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เราก็จะสามารถหายขาดจากมะเร็งได้
ระยะที่ 3ระยะก้าวหน้า (Progression) เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งสามารถเจริญเติบโตงอกงาม เกิดการเกาะกลุ่มเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่เห็นชัดเจน และลุกลามไปสู่เซลล์รอบข้าง

การวินิจฉัยมะเร็ง
      1.การตรวจคัดกรอง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น เป็นไวรัสตับอักเสบบีหรือชีเรื้อรัง เป็นโรคติดสุราเรื้อรัง และมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การเจาะเลือดตรวจค่า AFP (alpha fetoprotein) และการตรวจอัลตร้าซาวด์ตับ
      2.การตรวจทางรังสีวิทยา เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) การตรวจด้วย CT scan จะให้ผลการวินิจฉัยที่ชัดเจนขึ้น การตรวจทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
      3.การตรวจทางพยาธิวิทยา ได้แก่ การตรวจชิ้นเนื้อด้วยการใช้เข็มเจาะ หรือการตรวจชิ้นเนื้อตับที่ตัดออกมา ซึ่งเป็นการตรวจยืนยัน

การรักษามะเร็งตับ
      1.การผ่าตัด การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก โดยมีเงื่อนไขว่า ก้อนมะเร็งนั้นต้องมีขนาดไม่เกิน 2 ซ.ม. เป็นมะเร็งก้อนเดียว มีเปลือกห่อหุ้ม และอยู่ภายในตับกลีบเดียว วิธีนี้เป็นวิธีรักษาที่ดีที่สุด
      2.การรักษาทางรังสีวิทยา เช่น การใช้คลื่นความถี่สูง (Radiofrequency ablation) เป็นการรักษาโดยการฉีดแอลกอฮอล์ เข้าไปที่ก้อนมะเร็งพร้อมทั้งอุดเส้นเลือดหลักที่เข้าไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง การรักษาแบบ TOCE (transcatheteroily  chemo-embozation) เป็นต้น
      3.การเปลี่ยนตับ ปัจจุบันในประเทศไทย สามารถปลูกถ่ายตับได้







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น