MICROCONTROLLER

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

โรคฝีบิดตับ

โรคฝีบิดตับ

(รูปที่ 1 Ameba ,http://www.petitmusee.org)
            เป็นโรคฝีตับซึ่งเกิดจากการติดเชื้อบิดอะมีบา  (Ameba)  เป็นโรคฝีตับที่พบได้บ่อยรองจากโรคฝีตับจากเชื้อแบคทีเรีย  และมักพบในถิ่นที่การสาธารณสุขยังไม่เจริญ  โดยพบได้ประมาณร้อยละ  10-20  ของโรคฝีตับจากทุกสาเหตุ
                เชื้อบิดหรือเชื้ออะมีบาเป็นสัตว์เซลล์เดียวหรือโปรโตซัว(Protozoa)  ซึ่งระยะที่โรคติดต่อจะอยู่ในระยะเป็นซีสต์(Cyst)  โดยซีสต์จะปะปนในอุจจาระของคนที่เป็นพาหะ  เมื่อคนปกติบริโภคอาหาร  น้ำดื่ม  หรือสัมผัสโดยตรงทางปาก  (จากทางเครื่องใช้ต่างๆ)  ที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีซีสต์อยู่   ซีสต์จะถูกย่อยในลำไส้เล็ก  เกิดเป็นตัวอ่อน  ซึ่งจะไปเจริญเติบโตในลำไส้ใหญ่และบางครั้งในทวารหนัก  แต่ในภาวะรุนแรง  เชื้อจะเข้ากระแสเลือดดำลำไส้  เข้าสู่เนื้อเยื่อตับ  ตามลำดับ  ตับขึงเกิดการติดเชื้อและเกิดฝีบิดตับ  แต่บางครั้งอาจติดเชื้อจากการสวนล้างท้องและ/หรือสวนล้างพิษด้วยวิธีการหรือน้ำยาไม่สะอาดซึ่งปนเปื้อนเชื้อบิด  ทำให้เกิดโรคบิดของลำไส้ใหญ่  ทวารหนัก  แล้วจึงลุกลามเข้าตับได้ดังกล่าว
                โรคฝีบิดตับมักเกิดในตับกลีบขวามากกว่าตับกลีบซ้าย  เป็นโรคที่เกิดได้ในทุกอายุ  ทั้งในเด็ก  ผู้ใหญ่  และผู้สูงอายุ  อีกทั้งยังพบในผู้ชายร้อยละ  7-12  เท่าของผู้หญิง  (โดยไม่ทราบสาเหตุ)

ปัจจัยเสี่ยง
·       การอยู่อาศัยหรือการท่องเที่ยวในถิ่นที่มีเชื้อบิดเป็นเชื้อประจำถิ่น
·       พบในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า  เด็กพิการ  หรือคนชราที่ขาดสุขอนามัย
·       พบในชายรักร่วมเพศ

อาการ
                โรคฝีบิดตับมีอาการเช่นเดียวกับที่ได้กล่าวแล้วในโรคฝีตับจากเชื้อแบคทีเรีย  แต่ที่เพิ่มเติมคือถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด  หากมีการติดเชื้อในลำไส้ใหญ่และ/หรือทวารหนักร่วมด้วย

การวินิจฉัย
                แพทย์วินิจฉัยโรคฝีบิดตับได้ด้วยวิธีการเดียวกับการวินิจฉัยโรคฝีตับจากเชื้อแบคทีเรีย  โดยเฉพาะจากประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย  การท่องเที่ยว  และอาการท้องเสียหรืออุจจาระมีมูกเลือด  นอกจากนั้นคือการตรวจพบเชื้อบิดจากหนองในตับ 

แนวทางการรักษา
                โรคฝีบิดตับมีวิธีการรักษาเช่นเดียวกับในโรคฝีตับจากเชื้อแบคทีเรียต่างกันที่ชนิดของยาฆ่าเชื้อ  ซึ่งจะเป็นยาฆ่าเชื้อบิด

ความรุนแรงของโรค
            โรคฝีบิดตับจัดเป็นโรครุนแรงเช่นเดียวกับโรคฝีตับจากทุกสาเหตุและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ประมาณร้อยละ  5-10  โดยเฉพาะในผู้ป่วยซึ่งเกิดผลข้างเคียงและ/หรือดื้อต่อยาฆ่าเชื้อ  โดยทั่วไปรักษาหายภายในระยะเวลา  2-4  สัปดาห์  แต่ยังคงหลงเหลือโพรงฝีหรือหนองได้นานเฉลี่ยประมาณ  3  เดือน  (อาจเป็นปีหรือหลายปี)  และไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคตับแข็งหรือโรคมะเร็งตับ

การดูแลตนเอง  การพบแพทย์  และการป้องกัน

                การดูแลตนเอง  การพบแพทย์  และการป้องกันเช่นเดียวกับในโรคฝีตับจากเชื้อแบคทีเรีย  แต่เน้นเรื่องการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน  โดยเฉพาะเรื่องอาหาร  (ผักสด  ผลไม้สด  อาหารสุกๆดิบๆ)  น้ำดื่ม  เครื่องใช้ในการบริโภค  (เช่น  ช้อน  แก้วน้ำ)  การเดินทางไปยังถิ่นของโรคนี้  และการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังได้กล่าวแล้ว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น