MICROCONTROLLER

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

1 โรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน
     1.1 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หมายถึง ภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้สูงอายุ และทำให้เกิดการหมดสติไม่รู้ตัว เกิดจากรับประทานอาหารน้อยกว่าปกติ หรือรับประทานอาหารผิดเวลา การฉีดอินซูลิน หรือรับประทานยาเม็ดลดระดับน้ำตาลมากเกินไป หรือพบในผู้ป่วยที่มีภาวะไต หรือตับเสื่อมทำให้การทำลายหรือการขับยาออกจากร่างกายน้อยลงทำให้ฤทธิ์ของยามากขึ้น การออกกำลังกายมากกว่าปกติ อาการที่พบคือ หิว ใจสั่น มือสั่น เหงื่อออกมาก มึนงง หงุดหงิด ถ้าเป็นมากอาจมีอาการชักเกร็ง หมดสติได้
     1.2 ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาก และไม่มีสารคีโตนหลั่ง มักพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หรือผู้สูงอายุที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี เมื่อมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง หรือการติดเชื้อจะมีการหลั่งฮอร์โมนต่างๆซึ่งทำให้ความต้องการอินซูลินเพิ่มขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจนเกิดอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะมาก อ่อนเพลีย น้ำหนักลด บางครั้งมีอาการชักกระตุก ซึม หมดสติ กรณีของการติดเชื้อ จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ที่พบบ่อยได้แก่ วัณโรค ปอด การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะการติดเชื้อรา เป็นต้น 
2 โรคแทรกซ้อนเรื้อรัง
     2.1 โรคแทรกซ้อนจากหลอดเลือดใหญ่ มีการตีบตันของหลอดเลือดใหญ่ ที่สำคัญได้แก่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ สมอง ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายอัมพาต อัมพฤกษ์ หรือเกิดการตีบของหลอดเลือดไปเลี้ยงขา เกิดอาการปวดน่อง ถ้ามีการอุดตันของหลอดเลือด จนเกิดการตายของเนื้อเยื่อ ทำให้ต้องตัดขา นอกจากนี้ยังพบความดันโลหิตสูงได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะความดันโลหิตสูงชนิดซิสโตลิก (Systolic Hypertension)
     2.2 โรคแทรกซ้อนจากหลอดเลือดเล็ก
       - โรคจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวาน (Diabetic Retinopathy : DR) มีความผิดปกติที่จอประสาทตาเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์ที่จอรับภาพเกิดอาการตามัวถ้าเป็นมากจะมีเลือดออกในจอประสาทตาเกิดตาบอดได้
       - โรคไตจากเบาหวาน (Diabetic nephropathy : DN) เกิดจากการตีบของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต ทำให้การทำงานของไตเสื่อมลง กรองของเสียไม่ได้ ทำให้มีของเสียคั่งในเลือดเกิดไตวาย ภาวะไตเสื่อมจากเบาหวานในระยะแรกไม่มีอาการ อาศัยการตรวจหาอัลบูมินในปัสสาวะเป็นการช่วยวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรก
           - โรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy) ที่พบบ่อยคืออาการจากระบบประสาทส่วนปลายเสื่อมมีอาการชา ความรู้สึกน้อยลง หรือไม่รู้สึกเริ่มจากปลายนิ้วเท้า และลามขึ้นเรื่อยๆ อาการชาที่เท้าทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ อาจเกิดแผลลุกลามจนถึงต้องตัดขาได้นอกจากนี้อาจพบอาการของเส้นประสาทปวดแสบปวดร้อน ซึ่งมักพบในเส้นประสาททั่วไปเลี้ยงเท้าและขา

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เบาหวาน (Diabetes Millitus)

เบาหวาน (Diabetes Millitus)

โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ตับอ่อนมีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือดถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ชนิดของโรคเบาหวาน เบาหวานสามารถแบ่งแยกย่อยได้หลายชนิด ทางการแพทย์มี 5-6 ชนิด แต่ที่รู้จักกันทั่วไปมี 2 ชนิด
1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากความผิดปกติของบีตาเซลล์ของตับอ่อนถูกทำลายทำให้การสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า อินซูลิน (Insulin) ไม่สามารถสร้างได้ ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ฉะนั้นในการรักษาเนื่องจากไม่มีอินซูลินจึงต้องใช้อินซูลินฉีดเข้าไป เพื่อทดแทน ดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1
2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย ส่งผลให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือภาวะที่ร่างกายยังสามารถผลิตอินซูลินได้บ้างแต่ว่าอินซูลินที่ผลิตออกมานั้นร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อฤทธิ์ของมันได้ ดังภาพที่ ในการรักษาเบาหวานประเภทนี้ใช้ได้ 2 แบบ คือการฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทน ในกรณีที่อินซูลินแทบจะทำงานไม่ได้ และการกินยาเข้าไป ยามีหลายชนิด เช่น ไปช่วยกระตุ้นให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น เพื่อลดภาวะ การดื้อต่ออินซูลิน หรือเพิ่มการหลั่งอินซูลินจากเบต้าเซลล์

ภาพที่ 2


           




อาการเบื้องต้นของโรคเบาหวาน

                    อาการเบื้องต้นของโรคเบาหวาน

1 เข้าห้องน้ำบ่อย รู้สึกเหมือนต้องการปัสสาวะทั้งวัน ซึ่งการถ่ายปัสสาวะจะบ่อยขึ้นหากมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงเกินไป หากไม่มีฮอร์โมนอินซูลิน หรือมีแต่ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพไตจะไม่สามารถกรองเอากลูโคสกลับเข้าไปในกระแสเลือดได้ จึงต้องพยายามดึงน้ำออกจากเลือดเพื่อเจือจางกลูโคส ทำให้กระเพาะปัสสาวะเต็มและทำให้คุณต้องไปเข้าห้องน้ำบ่อย
2 กระหายน้ำหากมีความรู้สึกหิวน้ำจนต้องดื่มน้ำมากกว่าปกติ และรู้สึกว่าดื่มน้ำเท่าไหร่ก็ไม่พออาจเป็นสัญญาณเตือนของเบาหวานได้ โดยเฉพาะหากมีอาการปัสสาวะบ่อยร่วมด้วยเนื่องจากเมื่อร่างกายต้องขับน้ำออกจากกระแสเลือดเป็นปริมาณมากจนทำให้ต้องเข้าห้องน้ำบ่อย ส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำและรู้สึกว่าจำเป็นต้องดื่มน้ำมากขึ้นเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป
3 น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ อาการนี้จะเด่นชัดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ในเบาหวานชนิดที่ 1 ตับอ่อนจะหยุดผลิตอินซูลิน ซึ่งอาจเนื่องมาจากการที่มีเชื้อไวรัสไปทำลายเซลล์ตับอ่อน หรือเกิดจากการที่มีภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ทำให้ร่างกายโจมตีเซลล์ที่ผลิตอินซูลิน ร่างกายจะพยายามแสวงหาแหล่งพลังงานอื่นๆอย่างหนักเนื่องจากเซลล์ในร่างกายไม่ได้รับกลูโคส จนกระทั่งเริ่มสลายกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมันเพื่อนำมาเป็นพลังงาน ในขณะที่เบาหวานชนิดที่ 2 อาการจะเริ่มเป็นมากขึ้นทีละน้อยเนื่องจากภาวะร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ท้าให้น้ำหนักลดอย่างไม่ชัดเจนมากนัก
4 อ่อนเพลียและเหนื่อยล้า สาเหตุเนื่องจากกลูโคสอีกเช่นกัน ตามปกติกลูโคสที่ได้รับจากการกินอาหารจะดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งอินซูลินจะช่วยเคลื่อนย้ายกลูโคสเข้าไปในเซลล์ต่างๆของร่างกายอีกขั้นหนึ่ง เซลล์ก็จะนำกลูโคสนี้ไปผลิตพลังงานที่ใช้ในการดำรงชีวิต เมื่อไม่มีอินซูลิน หรือเซลล์ของร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินอีกต่อไป กลูโคสก็จะคงอยู่ในกระแสเลือดนอกเซลล์ เซลล์ร่างกายก็จะขาดแคลนพลังงาน ทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยง่ายและร่างกายทรุดโทรมลงเรื่อยๆ
5 มีอาการเหน็บชาหรือรู้สึกเหมือนเข็มทิ่มบริเวณมือ ขา หรือเท้า อาการนี้เรียกว่าเส้นประสาทอักเสบ ซึ่งจะเป็นมากขึ้นทีละน้อย เนื่องจากกลูโคสในกระแสเลือดที่สูงเกินไปตลอดเวลาจะทำให้ระบบประสาทเสียหาย รวมทั้งบริเวณแขนขาด้วย ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ อาการมักจะค่อยเป็นค่อยไป จนคนหลายคนไม่รู้ตัวว่าตนเองมีอาการนี้ ดังนั้นระดับน้ำตาลในเลือดอาจสูงมาเป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัย ความเสียหายของเส้นประสาทจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัวบ่อยครั้งที่อาการเส้นประสาทอักเสบสามารถดีขึ้นได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายอย่างเคร่งครัด
อาการและสัญญาณเตือนอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้ อาการตามัว ผิวหนังแห้งหรือคันมีการติดเชื้อบ่อยขึ้น บาดแผลที่ใช้เวลานานผิดปกติกว่าจะหาย ก็เป็นสัญญาณเตือนว่ามีบางสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เมื่ออาการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเบาหวาน ก็เป็นผลจากการที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงเกินไป หากคุณสังเกตว่าตนเองมีอาการข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ